หลักฐานเอกสารโบราณปรากฏนามเมืองหรือรัฐสำคัญแห่งหนึ่ง บนแหลมมลายู ซึ่งออกเสียง ตามสำเนียงในแต่ละภาษา เช่น หลังยาซูว หลังยาซีเจีย (ภาษาจีน) ลัคาโศกะ อิลังคาโศกะ (ภาษาสันสกฤต ภาษาทมิฬ) เล็งกุสะ (ภาษาขวา) ลังคะศุกา (ภาษาอาหรับ) ลังกะสุกะ สังกาสุกะ (ภาษามลายู) โดยนักวิชาการสันนิษฐานว่า น่าจะเป็นชื่อเมืองเดียวกันที่ น่าจะเคยตั้งอยู่ในรัฐเคดาห์ ประเทศสหพันธรัฐมาเลเซีย และจังหวัดปัตตานีในปัจจุบัน นักวิชาการทางประวัติศาสตร์ และโบราณคดีเชื่อว่า ปัตตานี เป็นที่แวะพักจอดเรือ เพื่อแลกเปลี่ยนซื้อ-ขายสินค้าระหว่างพ่อค้าชาวอินเดียทางตะวันตกกับพ่อค้าชาวจีนทางตะวันออกและชนพื้นเมืองบน แผ่นดินและหมูเกาะใกล้เคียงต่างๆ นอกจากนี้ ยังเชื่อว่าเดิมปัตตานีเป็นอาณาจักรที่เก่าแก่และมีความเจริญรุ่งเรืองในอดีต เนื่องจากมีหลักฐานทาง โบราณคดีว่า บริเวณอำเภอยะรัง มีซากร่องรอยของเมืองโบราณขนาดใหญ่ซ้อนทับกันถึง ๓ เมือง มีวัตถุโบราณ สถานที่ศาสนสถานหลายแห่ง นอกจากนี้ยังค้นพบโบราณวัตถุจำนวนมาก โดยวัตถุบางชิ้นมีตัวอักษร ซึ่งนักภาษาโบราณอ่านและแปลว่าเป็นอักษรปัลลวะ (อินเดียใต้) ภาษาสันสกฤตเขียนเป็น คาถาในพุทธศาสนาลัทธิ มหายา